สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย
“The Council of Public Health Education Institute of Thailand ”
………………………………………………..
เมื่อปี พ.ศ. 2544 ผู้บริหารสถาบันการศึกษาด้านการสาธารณสุขได้รวมตัวกันจัดตั้ง “เครือข่ายสถาบันการศึกษาสาธารณสุขและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง” ในระยะเริ่มแรกมีสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วม 5 สถาบัน ได้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมและได้มีการกำหนดชื่อการประชุมว่า“ที่ประชุมผู้บริหารสถาบันการศึกษาสาธารณสุขและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ” เพื่อหารือร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน การสนับสนุนการพัฒนาวิชาการ การวิจัย ต่อมาการจัดการประชุมผู้บริหารสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยสถาบันสมาชิกของที่ประชุมฯ จะเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ในการประชุม ครั้งที่ 3/2552 “ที่ประชุมผู้บริหารสถาบันการศึกษาสาธารณสุขและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง” ได้มีมติเปลี่ยนชือ “ที่ประชุมผู้บริหารสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง” เป็น “ที่ประชุมคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย” มีสถาบันการศึกษาด้านการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมเป็นสมาชิก 23 สถาบัน 21 มหาวิทยาลัย
เนื่องจากได้มีสถาบันจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันเอกชนที่จัดการศึกษาด้านการสาธารณสุข ได้สมัครขอเขาร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย กอปรกับ ได้มีการขับเคลื่อนพรบ.วิชาชีพการสาธารณสุข ทางที่ประชุมฯ จึงได้มีการจัดทำธรรมนูญของที่ประชุมฯ ขึ้น เรียกว่า “ ธรรมนูญ สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย” และได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และมีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสภาคณดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย ชุดแรกตามธรรมนูญฯ จำนวน 21 คน เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2558โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ฟองสถิตย์กุล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี (ครบวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560) ในการดำเนินงานของสภาคณบดี มีประเด็นที่มีการหารือและการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องได้แก่
- การดำเนินงานของสภาการสาธารณสุขชุมชน 1.1 การพิจารณาโครงสร้างหลักสูตรด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย ก่อนเสนอสภาการสาธารณสุขชุมชน 1.2 การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ คณะทำงาน ในสภาการสาธารณสุขชุมชน
- โครงการวิจัย การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ตามกรอบ TQF)
- การดำเนินงานของเครือข่าย SEAPHEIN
- การดำเนินงานของเครือข่าย APACPH
- การจัดทำข้อสอบกลางของสภาคณบดีฯ
- การจัดทำวารสารนานาชาติของสภาคณบดีฯ (Asia J Public Health)
- การจัดประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาของสภาคณบดีฯ
- การดำเนินการของคณะกรรมการเครือข่ายวิจัยสภาคณบดี
- การดำเนินงานโครงการคัดเลือกบุคลากร และนักศึกษา เพื่อรับ รางวัลคุณธรรม
- การดำเนินการศึกษา “การผลิตบัณฑิตสาธารณสุขศาสตร์ให้ตรงเพียงพอกับความต้องการตามความต้องการของตลาด (demand and supply)”
- การร่วมมือผลิตบัณฑิตที่จะมาเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ Joint Doctoral Degree in Public Health และ Consortium
- การดำเนินการความร่วมมือกับสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สสส.) (ดร.นายแพทย์บัณฑิต ศรไพศาล) เพื่อการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างโจทย์วิจัย
- การร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21
- โครงการจัดทำเอกสารหรือตำราวิชาด้านการสาธารณสุขและการสาธารณสุขชุมชน
- การดำเนินงานโครงการคัดเลือกบุคลากร และนักศึกษา เพื่อรับรางวัลคุณธรรม
สำหรับผลการดำเนินการในปี 2559 -2560 สภาคณบดีฯ ได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยสรุปดังนี่
- ความก้าวหน้าการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพกลุ่มวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน สืบเนื่องจากคณะกรรมการกำลังคนสุขภาพแห่งชาติ โดยมี นพ.วิจารย์ พานิช เป็นประธาน และมีคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และได้ตั้งคณะกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ 5 กลุ่ม โดยสภาคณบดีฯ มีส่วนร่วมเป็นกรรมการในกลุ่มต่างๆ ดังนี้
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์การกำหนดนโยบายการจัดการการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพโดยใช้หลักฐานทางวิทยาการและการจัดการความรู้
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ปฏิรูปจัดการในสถาบันการศึกษาและ ปฏิรูปหลักสูตรขบวนการเรียนรู้และระบบสารสนเทศ
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้บุคลากรทางด้านสุขภาพและการสร้างเครือข่ายสู่การปฏิรูปการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ
- คณะอนุกรรมการประเมินผลดัชนีความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์
- คณะอนุกรรมการการดำเนินงานจัดการประชุมระดับนานาชาติ เรื่อง การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ
การวางแผนคนด้านสุขภาพ สาธารณสุขชุมชน มีอัตราผลิต ตั้งแต่ปัจจุบัน – 2569 ประมาณ 200,000 คน ซึ่งมีความต้องการกำลังคนที่ต่ำกว่าอัตราผลิต
ในส่วนของการสรุปประเด็น Competency การกำหนด demand และ supply ความต้องการกำลังคนต่ำกว่าการผลิต ต้องชี้ให้รัฐบาลเห็นถึงความต้องการ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม หรือบางส่วนที่มีอัตราการผลิตสูง (over supply) แล้วแต่บางส่วนยังขาดอยู่ (under supply) ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาคณบดีฯ ที่จะชี้ช่องทางการทำ Model มีความสำคัญมาก ถ้ารู้ว่าโจทย์เป็นรูปแบบใดการผลิตกำลังทั่วประเทศจะได้เห็น และชี้ให้รัฐบาลเห็นว่าขาดกำลังส่วนใดเพื่อจัดสรรหรือกำหนดตั้งตำแหน่งมารองรับในอนาคต
- “คณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย” ซึ่งเดิมใช้ชื่อ “คณะอนุกรรมการเครือข่ายการวิจัยสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง” โดยมี คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านวิจัยและบริการวิชาการร่วมกันระหว่างสถาบันเครือข่ายฯ ที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า
- ความก้าวหน้าในการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ตามกรอบ TQF) สภาคณบดีฯ ได้จัดส่งเล่มรายงานต่อคณะกรรมการตรวจรับงานของ สกอ.แล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจรับงานของ สกอ.
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ที่ประชุมสามัญประจำปีสภาคณบดีคณะสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2/2560 ณ ห้องประชุม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสภาคณบดี ชุดที่ 2 แทนชุดที่ 1 ที่ครบวาระ และมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาคณบดีครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย ชุดที่ 2 ดังรายนามต่อไปนี้
1. รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา อยู่สุข ประธานสภาคณบดี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ สุธรรมาสา รองประธานสภาคณบดีและ ประธานอนุกรรมการฝ่ายวิชาชีพ ควบคุมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3. รองศาสตร์จารย์ ดร.ยุวดี รอดจากภัย เลขาธิการสภาคณบดีและประธานอนุกรรมการฝ่ายคุณภาพและมาตรฐาน 4. ผศ.ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ กรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาริท เจาะจิตต์ กรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการ ฝ่ายวิชาชีพควบคุมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 6. อาจารย์ ดร.พัสกร องอาจ กรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 7. อาจารย์ ดร.ชลาลัย หาญเจนลักษณ์ กรรมการบริหารและประธานอนุกรรมการ ฝ่ายสื่อสารองค์กร 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล กรรมการบริหารและเหรัญญิก 9. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ กรรมการบริหาร 10. ศาสตราจารย์ ดร.สถิรกร พงศ์พานิช กรรมการบริหาร 11. รองศาสตราจารย์ ดร.ขะนวนทอง ธนสุกาญจน์ กรรมการบริหาร 12. รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ กรรมการบริหาร 13. รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี สรรเสริญ กรรมการบริหาร 14. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพล ต่อนี กรรมการบริหาร 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิมาลา ชโยดม กรรมการบริหาร 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศศิธร สกุลกิม กรรมการบริหาร 17. อาจารย์ ดร.สมชัย อวเกียรติ กรรมการบริหาร 18. อาจารย์ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการบริหาร 19. อาจารย์ นพ.วิชัย เทียนถาวร กรรมการบริหาร 20. อาจารย์ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล กรรมการบริหาร 21. ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก หรือผู้แทน กรรมการบริหาร 22. นางนภาพร ม่วงสกุล เลขานุการ 23. นางสาวนวพร พานิชเจริญ ผู้ช่วยเลขานุการ 24. นางณัฐสินี จันหาญ ผู้ช่วยเลขานุการ โดยมีวาระ 2 ปี นับจากวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560